7 วิธีรับมือกับ “ความกดดัน” แบบคนฉลาด

0
20350

ความกดดัน ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ได้มาจากคนอื่น แต่มันมักจะเกิดขึ้นเพราะตัวคุณเอง ด้วยภาระหน้าที่ บทบาทของสังคมต่างๆ ทำให้คุณต้องกังวลและกลัวว่าจะทำหน้าที่ออกมาได้ไม่ดีหรือไม่สำเร็จ

ต้องเป็นลูกที่ดีของแม่ เป็นพี่สาวที่คอยดูแลน้องๆ เป็นภรรย าที่น่ารัก และเป็นหัวหน้าทีมในออฟฟิศ ความจำเป็นทุกอย่ างทั้งเรื่องเวลา เงิน และความรับผิดชอบที่ต้องมีมากขึ้นทุกวัน อาจจะทำให้คุณกดดันตัวเองจนไม่รู้เ นื้ อ รู้ตัว! แต่เรามีวิธีดีๆ มาให้คุณได้ลองทำกัน เพื่อให้คุณรับมือกับมันและก้าวไปข้างหน้าได้อย่ างมั่นใจ

1.รู้ตัวเองเมื่อรู้สึกกดดัน

ทำงานมากๆ แล้วรู้สึกกระวนกระวายใจ หายใจเร็ว เวียนหัว หัวร้อน และระเบิดลง ตู้ม! หลายคนมักจะรู้สึกกดดันโดยที่ไม่รู้ตัว แต่จงรู้ไว้ว่าถ้าหากคุณเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นเมื่อไหร่

คุณก็ตกอยู่ในภาวะกดดันซะแล้วล่ะ แถมถ้าไม่รีบแก้ไข อาจจะส่งผลเสียกับตัวคุณ เช่น ป่ ว ย บ่อยขึ้น ป ว ดเมื่อย ท้องผูก ทำงานได้ไม่เต็มที่ กินเยอะหรือน้อยเกินไป ความต้องการทางเพศลดต่ำลง

2.รู้ที่มาของความกดดัน

เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองรู้สึกกดดัน ต่อมาคือต้องระบุให้ได้ว่าที่มาของความกดดันนี้คืออะไร เพราะเมื่อรู้แล้วเราอาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นแง่บวกได้

ต้นเหตุอาจจะเป็นงานของคุณที่เพิ่งส่งหัวหน้าไปแต่กลับโดนแก้มายกใหญ่ หรืออาจจะเกิดจากตัวคุณเองที่ต้องการเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ไม่ยอมให้แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ผิดพลาด

3.หาวิธีที่แก้ไขปัญหาในสิ่งที่คุณควบคุมได้

คุณต้องแยกให้ออกว่าปัญหาไหน “สามารถแก้ไขได้” และปัญหาไหน “ไม่สามาถแก้ไขได้” และให้เริ่มลิสต์ปัญหาที่ตัวคุณสามารถคลี่คลายได้และจัดการกับมัน

ด้วยการสร้างตัวเลือกที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาแต่ละอย่ าง วางแผน อย่ างรอบคอบและประเมินตัวเองว่าคุณพอใจกับมันหรือเปล่า ถ้าไม่พอใจ ก็กลับไปที่ตัวเลือกและวางแผนให้ดีอีกครั้ง

4.จัดลำดับความสำคัญของงาน

หลายคนชอบคิดว่า ยิ่งทำงานให้ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่นั่นก็จะยิ่งทำให้เรารู้สึกกดดันได้ง่ายๆ วิธีการจัดการกับตัวคุณเองง่ายๆ ก็คือต้องเรียงลำดับความสำคัญ

ของงานหรือกิจกรรมต่างๆ ว่าควรทำอะไรเสร็จก่อนหลัง และย่อยออกมาเป็นขั้นตอนเล็กๆ นอกจากจะช่วยทำให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้นแล้วก็ยังช่วยให้เราไม่ทำงานหนักเกินไปอีกด้วยล่ะ

5.หัดมอบหมายงานให้คนอื่น

คนที่กดดันได้ง่ายมักจะเป็นคนที่ชอบความ perfect และจะเอางานทุกอย่ างมากองไว้บนหัวตัวเอง พย าย ามควบคุมทุกอย่ าง ลองมอบงานเล็กๆในตารางงานของคุณให้คนที่พร้อม

โดยบอกรายละเอียดตามที่คุณต้องการอย่ างชัดเจน การมอบหมายงานให้คนอื่น ทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่ างดี แม้จะอยู่ในสภาพที่มีความเ ค รี ย ด สูง โดยไม่เสียมาตรฐานของตัวเองด้วย

6.ลองพูดว่า “ไม่” ดูบ้ า ง

ชีวิตบางคนขึ้นอยู่กับความเกรงใจคนอื่นมากเกินไปจนตัวเองก็แทบจะไม่ไหวแล้ว ปฏิเสธใครไม่เป็นจนติดเป็นนิสัยทำให้ตัวเองเกิดความกดดันขึ้นโดยไม่รู้ตัว เราจึงอย ากให้คุณลองปฏิเสธคนอื่นดูบ้ า ง คุณอาจจะคิดว่าการพูดคำว่า “ไม่” จะเป็นการตัดโอกาสต่างๆ หรืออนาคตออกจากชีวิตคุณ แต่จริงๆ แล้ว

การปฎิเสธจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญของโอกาส เพื่อให้คุณได้ใช้เวลาและทักษะของคุณไปอย่ างมีประสิทธิภาพ วิธีการคือให้ลองถามตัวเองว่า

“ฉันอย ากทำมันจริงๆ หรือเปล่า มันสำคัญกับเป้าหมายของฉันไหม” ฉันพูดคำว่า “ได้” เพราะรู้สึดผิดหรือเป็นเพราะหน้าที่หรือเปล่า? ลองตอบคำถามของตัวเองและลองพูดว่า “ไม่” ดูบ้ า ง

7.หยุดวิพากษ์วิจารณ์และยอกย้อนตัวเอง

การพูดแ ย่ ๆ กับตัวเอง อาจนำไปสู่ความโกรธ และกลายเป็นความผิดหวังในที่สุด หยุดเสียงในหัวนั้นไว้ และเปลี่ยนมันให้กลายเป็นพ ลั ง บวกดีกว่า โดยให้จดว่าแต่ล่ะวัน

คุณวิจารณ์ตัวเองว่าอะไรบ้ า ง เช่น ฉันมันเฮงซวยที่ทำเรื่องนี้ไม่ได้ แล้วเพราะอะไรคุณถึงคิดแบบนี้ จากนั้น ลองคิดว่าถ้าเพื่อนมาขอความคิดเห็นจากคุณในแบบเดียวกัน คุณจะแนะนำเขาอย่ างไร คุณจะแก้ในสิ่งที่เขาคิดไหม หรือจะบอกจุดแข็งในตัวเขาให้เขาได้รู้ตัว ลองฝึกแบบนี้กับตัวเองก็จะช่วยได้อย่ างมาก

ที่มา : sumrej

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่